วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

วงศ์ปลาน้ำจืด


  • วงศ์ปลาช่อน (Channidae)
ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ (Cycloid) ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้


แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง


พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (Species) (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล (Genus) คือ Parachanna 3 ชนิด และ Channa 28 ชนิด พบในแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (Channa limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ชะโด (Channa micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร


จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อนนา (Channa straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูมิภาค

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาช่อน
  • ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striata
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6 - 7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30 - 40 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนสปีชีส์นี้ มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า " ปลาช่อนจำศีล " พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้ พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง


เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body)


ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา


ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า " หลิม " ในภาษาเหนือ " ค้อ " หรือ " ก๊วน "ค่อ" ในภาษาอีสาน เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนข้าหลวง
  • ชื่อสามัญ BLOTCHED SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน Channidae


เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง


ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบในมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง ช่อนข้าหลวง ยังมีชื่อที่เรียกกันในเขตจังหวัดนราธิวาสว่า " ช่อนทอง "

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนงูเห่า
  • ชื่อสามัญ GREAT SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa aurolineatus
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สัลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกนึงว่า " ปลาช่อนดอกจันทน์ " เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว


ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ " ปลาช่อนงูเห่า " เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด


มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า ตอนใต้ของจีน ไทย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเชีย และคาดว่าอาจจะมีในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาด้วย


พฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา กุ้ง สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย
อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน
ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น " หลิมหางกวั๊ก " ที่ จ.แม่ฮ่องสอน " ก้วน " ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน " ล่อน ", " กะล่อน " หรือ " อ้ายล่อน " ในภาษาใต้ เป็นต้น


อนึ่ง มีปลาช่อนอยู่ชนิดหนึ่งที่มีรูปร่าง ลักษณะที่คล้ายคลึงกับปลาช่อนงูเห่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulius หรือ Channa marulia มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคเอเชียใต้ ไม่พบในประเทศไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกัน


โดยมีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า " ปลาช่อนงูเห่าอินเดีย " แต่ตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักจะให้ปลาช่อนงูเห่าที่พบในประเทศไทยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับปลา ช่อนงูเห่าที่พบในประเทศอินเดีย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนดำ
  • ชื่อสามัญ Black snakehead
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melasoma
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


มีรูปร่างเหมือนปลาช่อน (Channa striata) แต่ลำตัวผอมเพรียวกว่า หัวโต ตาสีดำ ตามตัวไม่มีลวดลาย สีลำตัวสีเขียวอมม่วง ครีบท้อง ครีบหาง และครีบหลังมีสีคล้ำมีขลิบขาวที่ครีบท้อง ขนาดโตเต็มที่ได้ 30 เซนติเมตร กินปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ต่าง ๆ


ในประเทศไทยพบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่มาเลเซีย, สิงคโปร์ไปจนถึงอินโดนีเซีย ปลาช่อนดำมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาช่อนเจ้าฟ้า"

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาก้าง
  • ชื่อสามัญ RED-TAILED SNAKEHEAD
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata


มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง โดยปลาในแต่ละถิ่นจะมีสีสันแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย


มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างนับจากอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเชีย บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา


ปลาก้าง จัดว่าเป็นหนึ่งของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศ โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า "กั๊ง" หรือ "ขี้ก้าง" มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


อนึ่ง นี้ยังมีปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาด รูปร่างที่คล้ายคลึงกับปลาก้างมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยปลาก้างชนิดนี้พบในภูมิภาคเอเชียใต้ แต่ข้อมูลปัจจุบันหลายแห่งมักจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาก้างที่พบในประเทศไทย เป็นปลาก้างชนิดนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลากระสง
  • ชื่อสามัญ Blotched snake-head fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa striata) แต่มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง


มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน


นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " กระจอน " ในภาษาอีสาน " ช่อนไช " ในภาษาใต้


กระสงน้อย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาชะโด
  • ชื่อสามัญ Gian snacke-head fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


โดยชะโดจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 ก.ก. มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทน


โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว


นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"


เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย


ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก

ปลาจีน


ด้วยความรู้ที่มีเท่าหางเขียด พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มปลาจีนมาได้ระยะนึง(นานพอดู) แต่ที่ได้มาก็คงจะยังไม่สมบูรณ์ดั่งใจหวัง แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของตัวผมเอง เผื่อจะมีประโยชน์แด่ผู้ที่ไม่รู้(ผมก็เป็น1ในกลุ่มนี้) แรกๆผมยังเข้าใจเลยว่าปลาจีนคือปลาชนิดหนึ่งซึ่งชื่อปลาจีน ไม่ได้คิดว่ามันคือชื่อของกลุ่มปลาที่มาจากประเทศจีน(รู้งี้เรียนประมงก็ดี)


ปลาจีนเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศจีน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ ปลาไน ปลาเฉา ปลาลิ่น ปลาซ่ง และปลาเฉาดำ แต่มีเพียง 3 ชนิดที่นิยมเลี้ยงรวมกันคือ ปลาเฉา ปลาลิ่น และปลาซ่ง ส่วนปลาไนนั้นเลี้ยงกันจนเป็นปกติวิสัยและบางท่านไม่นับเป็นปลาจีน
ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัด

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาเฉา หรือ เฉาฮื้อ ปลากินหญ้า
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCtenopharyngodon idellus (Cuv.&val) ( ซี-โน-ฟา-ริ้ง-โก-ดอน-เดล-ลัส)
  • ชื่อสามัญ (Grass carp)
  • ส่วนหัวค่อนข้างแบนปากอยู่ปลายสุดเฉียงขึ้นเล็กน้อยขากรรไกร ล่างสั้นกว่าขากรรไกรบน ตาเล็ก ซี่เหงือกติดต่อกับแก้ม ซี่กรองเหงือกห่างและสั้น ฟันที่คอหอยมีอยู่ 7 แถวคล้ายหวี ข้างซ้ายมี 2-5 ซี่ ข้างขวามี 2-4 ซี่ครีบ หลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน ก้านครีบ แขนง 14 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดขนาดใหญ่บริเวณข้างลำตัว 34-35 เกล็ด ลำตัวรูปกระสวยคล้ายทรงกระบอก หางแบนข้าง ส่วนหลังมีสีดำ น้ำตาล ท้องสีขาว


เป็นปลากินพืชที่มีอวัยวะพิเศษคือ มีฟันในลำคอที่สามารถบดหญ้าให้ขาดและแหลกได้จึงเหมาะที่จะนำมาเลี้ยงเป็นปลาปราบวัชพืช”

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาลิ่น ปลาเล่ง ลิ่นฮื้อหรือเล่งฮื้อ
  • มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix (Cuv.&Val)( ไฮ-โพพ-ทาล-มิค-ทีส์-โม-ลิ-ทริกส์ )
  • ปลาเกล็ดเงิน (ปลาลิ่น) (Silver carp)
  • ลักษณะของปลาตัวนี้คือ ส่วนหัวมีขนาดปานกลาง ปากเชิดขึ้นเล็กน้อยอยู่ปลายสุดของหัว ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นมาเล็กน้อย ตาค่อนข้างเล็กและอยู่ต้ระดับกึ่งกลางลำตัว ส่วนหนังของเหลือกไม่เชื่อมสนิทกับแก้มส่วนล่าง


มีอวัยวะ Super branchial อยู่ ซี่กรองเหงือกติดต่อกันเหมือนตะแกรงที่มีลักษระคล้ายฟองน้ำ ฟันที่คอหอยมีข้างละแถวๆ ละ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนเป็นร่องละเอียด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมี ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมีครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดบนเส้นข้างลำตัวมี 110-123 เกล็ดลำตัวรูปกระสวยแบนข้างส่วนท้อง เป็นสันยาวจากอกถึงรูก้น ลำตัวส่วนหลังสีดำ เทา ส่วนอื่นๆ สีเงิน

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาซ่งหรือซ่งฮื้อ ปลาหัวโต
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthys nobilis (Richardson) ( อะ-ริส-ทีส์-โน-บิ-ลีส)
  • ชื่อสามัญ (Bighead carp)
  • รูปร่างลักษณะของปลาซ่ง ส่วนหัวมีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของลำตัว ปากอยู่ปลายสูงสุดและ เชิดขึ้นข้างบน ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อยตาค่อนข้างเล็กอยู่ต่ำเยื้องมาทางส่วน หน้าซี่กรองเหงือกถี่และมีขนาดเล็กแต่ไม่ติดกัน ที่คอหอยมีฟัน ข้างละแถวๆ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนและเรียบ


ครีบบนหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านและ ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดเล็กที่เส้นข้างลำตัว มี 95-105 เกล็ด ลำตัวกระสวย ส่วนท้องเป็น สัน ตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หางแบนข้างและเป็นสัน ส่วนหลังจะมีสีคล้ำและจุดดำบางแห่งท้องเหลือง

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>

ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัด


ปลาจีนทั้งสามชนิดเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาไน รูปร่างและลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะต่างกันมองเห็นได้ง่ายๆคือ ปลาเฉา เป็นปลาที่มีเกล็ดใหญ่เช่นเดียวกับปลาไน ลำตัวกลมยาวคล้ายกระบอกไม้ไผ่ สีตามลำตัวค่อนข้างเขียว ที่สำคัญคือชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ หรือว่ายน้ำยู่ตามผิวหน้าน้ำ





ส่วนปลาลิ่นและปลาซ่งนั้นมีเกล็ดละเอียด ปลาลิ่นตัวแบนข้าง สีเงิน ท้องเป็นสันที่บริเวณตั้งแต่กระพุ้งแก้มเรื่อยไปจนถึงครีบก้น หากินอยู่ตามบริเวณกลางน้ำในระดับ 1-1.5 เมตร ส่วนปลาซ่งนั้น หัวค่อนข้างใหญ่ หลังสีดำ ตัวสีคล้ำ ท้องเป็นสันตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หากินตามพื้นดินก้นบ่อ ปลาจีนทั้งสามชนิดอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คือ Cyprinidae (ไซ-บริ-นิ-ตี้ )

การจำแนกเพศปลาจีน


  • ปลาลิ่น
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ก้านครีบหูส่วนใหญ่มีปุ่มสากเมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือท้องแฟบ เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่น
  • ลักษณะของปลาเพศเมียครีบหูมีปุ่มสากเฉพาะก้านครีบบริเวณขอบครีบเท่านั้น ก้านครีบอื่น ๆ เรียบท้องอูมเป่ง ช่องเพศและทวารหนักมีสีแดงเรื่อ ๆ


  • ปลาซ่ง
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ จะรู้สึกสากมือและกระดูกปิดเหงือกในปลาที่โตเต็มวัยจะสากมือท้องแฟบ เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา
  • ลักษณะของปลาเพศเมียครีบหูไม่มีปุ่มสาก เช่นเดียวกับกระดูกปิดเหงือกและหัว ช่องเพศและทวารหนักมีสีแดงเรื่อ ๆ


  • ปลาเฉา
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ ระหว่างฤดูกาลวางไข่ครีบหูด้านบน จะมีปุ่มสากเช่นเดียวกับกระดูกปิดเหงือกและบริเวณหัว ปุ่มเหล่านี้จะพบชัดเจนในน้ำเชื้อเจริญดี เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา
  • ลักษณะของปลาเพศเมียมีปุ่มสากเกิดขึ้นเล็กน้อยบริเวณส่วนบนของครีบหู แต่บริเวณกระดูกปิดเหงือกและหัวด้านบนไม่มีปุ่มสาก ท้องอูมเป่ง จะนิ่ม


การเพาะพันธุ์ปลาจีน
ปลาจีนทั้งสามชนิดไม่วางไข่กันเองตามธรรมชาติ แต่สามารถใช้วิธีผสมเทียมฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาวางไข่ได้ พ่อแม่พันธุ์ต้องเลือกเอาที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์และมีไข่แก่เต็มที่ อายุประมาณ 2-4 ปี น้ำหนักประมาณ 1.5-5 กิโลกรัม แม่พันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไนหรือปลาชนิดเดียวกันในอัตรา 0.5 -2 โดส 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-8 ชั่งโมง ครั้งแรกอาจฉีดในอัตราน้อยกว่าครั้งที่สอง พ่อพันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไน หรือปลาชนิดเดียวกันอัตรา 0.5-1.5 โดส เพียงครั้งเดียว 8 ชั่วโมงก่อนการผสมไข่กับน้ำเชื้อในเวลาเช้ามืด 04:30-6:00 น.


ปลาเฉานั้น ไข่ที่รีดออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองปนน้ำตาลเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะดูดน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 4.0-5.0 มิลลิเมตร จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 13-14 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว



ปลาลิ่นนั้น ไข่ปลาจะมีสีเทา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.4 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายใน 14-16 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว

ปลาซ่งนั้น ไข่ปลาจะมีสีเหลืองทองปนน้ำตาลเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 15-19 ชั่วโมง แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 10,000-20,000 ตัว ไข่ปลาทั้งสามชนิดฟักออกเป็นตัวโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนขึ้นสู่ผิวน้ำ

ปลาเนื้ออ่อน


  • วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae)
เป็นปลาหนัง (ปลาไม่มีเกล็ด) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมากส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก กินเนื้อ ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย สัตว์หน้าดินต่างๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่เล็กสุดคือ ก้างพระร่วง (Krytopterus bicirrhis) ที่มีความยาวราว 10 ซม. นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และชนิดใหญ่ที่สุดคือ เค้าขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร

++===========================++


  • 1.ก้างพระร่วง
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus bicirrhis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน Siluridae มีลักษณะลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมาก ตัวโปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่าเป็น " ปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก " ก็ว่าได้ มีหนวดคู่ 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง โดยหนวดคู่บนจะยาวกว่าคู่ล่างมาก ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากจนแทบมองไม่เห็น ครีบทวารเป็นแนวยาวจรดโคนหาง หางมีลักษณะเว้าลึก อาศัยอยู่ตามแม่น้ำและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรงในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ของ ประเทศ โดยปลาที่พบในแม่น้ำลำคลองตัวจะมีสีขุ่นกว่าที่พบในแหล่งน้ำบริเวณเชิงเขา เชื่อว่าสาเหตุเพราะปลาต้องปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อหลีกเลี่ยง ศัตรู ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดราว 15 ซ.ม.

  • อุปนิสัย
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่จำนวน 100 ตัวขึ้นไป ชอบเกาะกลุ่มในแหล่งน้ำไหล โดยจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ และหันหน้าสู้กระแสน้ำไปในทิศทางเดียวกันหมด เป็นปลาขี้ตื่นตกใจมาก เมื่อตกใจจะว่ายกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง จากนั้นก็จะกลับมาเกาะกลุ่มตามเดิม อาหารได้แก่ แมลงน้ำขนาดเล็กและแพลงก์ตอนสัตว์


ก้างพระร่วง เป็นปลาเนื้ออ่อนที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และขึ้นชื่อมานาน โดยเป็นปลาส่งออกด้วย มีปรัมปราเล่ากันว่า พระร่วงได้ เสวยปลาชนิดนี้จนเหลือแต่ก้าง จึงทิ้งลงน้ำและกล่าววาจาสัจว่าขอให้ปลาตัวนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา จึงได้ชื่อว่า " ก้างพระร่วง " นับแต่นั้นมา นอกจากชื่อก้างพระร่วงแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ผี, ก้าง, กระจก, เพียว เป็นต้น


นอกจากก้างพระร่วงชนิด Krytopterus bicirrhis แล้วยังมีก้างพระร่วงอีกชนิดหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus macrocephalus โดยก้างพระร่วงชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หนวดยาวกว่า อาศัยอยู่เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีลำตัวที่ขุ่นทึบกว่า โดยมีอุปนิสัยและพฤติกรรมเหมือนกัน ปลาก้างพระร่วงชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ก้างพระร่วงป่าพรุ หรือ เพียวขุ่น

++===========================++

  • 2.ปลาขาไก่
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kryptopterus cryptopterus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ส่วนหลังไม่ยกสูง มีหนวดยาว 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณขอบฝาปิดเหงือก หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็งที่ยาวเกือบเท่าความยาวของครีบ ครีบก้นยาว มีหางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง ขอบครีบก้นมีสีคล้ำเช่นเดียวกับครีบหาง ครีบอกในตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 10 ซ.ม. พบใหญ่สุด 20 ซ.ม.


อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักย้ายถิ่นขึ้นมาในบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน โดยกินอาหารได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด หรือนำมาทำเป็นปลาแห้ง ปลารมควัน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แค่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากเป็นปลาขี้ตกใจ ตายง่าย


ปลาขาไก่ มีชื่อเรียกที่เรียกกันหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น " เพียว " ที่ภาคอีสาน " กะปิ๋ว " ที่ จ. ปราจีนบุรี " ปีกไก่ " หรือ " นาง " หรือ " ดอกบัว " ในแถบแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล หรือบางครั้งเรียก " หางไก่ " หรือ " ไส้ไก่ " เป็นต้น

++===========================++

  • 3.ปลาคางเบือน ,ปลาเบี้ยว
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belodontichthys truncatus (เดิม Wallago dinema) มีลักษณะส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า " คางเบือน "


มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 80 ซ.ม.


พบในแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


คางเบือนยังมีชื่อเรียกในภาษาอีสานอีกว่า " เบี้ยว ", " ขบ " , " ปากวิบ " หรือ " แก็ก "

++===========================++

  • 4.ปลาเค้าขาว
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago attu อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70 - 80 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน


อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดัง พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้ บริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้


เค้าขาวมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า " เค้าคูน "

++===========================++

  • 5.ปลาชะโอน
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok krattensis (เดิม Ompok bimaculatus) อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน


ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 40 ซ.ม.


อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย


อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก (Albino)


ชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น " สยุมพร " " เนื้ออ่อน " ในภาษาอีสานเรียก " ปลาเซือม " หรือ "ปลาเซียม"และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า " โอน " เป็นต้น

++===========================++

  • 6.ปลาชะโอนหิน
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Silurichthys schneideri อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีลำตัวแบนข้างและเรียวยาว ตามีขนาดเล็กมาก หัวและปากเล็ก ปากล่างสั้นกว่า มีหนวด 2 คู่ ลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมม่วง ลำตัวและครีบมีลายประหรือลายหินอ่อน ครีบหลังอันเล็กมี 2 - 3 ก้าน ครีบหางและครีบก้นต่อเนื่องกัน ปลายครีบหางด้านบนยาวเรียว มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม.



พฤติกรรมมักซ่อนตัวอยู่ใต้วัสดุลอยน้ำเช่น ใบไม้ร่วง หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารได้กแก่ แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกในป่า เช่น น้ำตกลำนารายณ์ จ. จันทบุรี เป็นต้น
เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ชะโอนหินมีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น " ลิ้นแมว " เป็นต้น

++===========================++

  • 7.ปลาดังแดง
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisilurus mekongensis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวแบนข้างเล็กน้อย จงอยปากสั้นและงุ้มเล็กน้อย ปากเล็ก ขากรรไกรมีหนังนิ่ม ๆ หุ้ม มีหนวด 1 คู่ ตาเล็ก ครีบหลังเล็กมากเป็นเพียงเส้นสั้น ๆ ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าลึกแฉกมนป้าน ตัวผู้มีหนวดเรียวสั้น ตัวเมียมีหนวดเส้นใหญ่ปลายแบนและยาวถึงบริเวณหลัง สีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้า หนังบางค่อนข้างใส ครีบสีจางขอบครีบหางสีคล้ำ ส่วนหัวมีสีแดงเรื่อโดยเฉพาะบริเวณจงอยปาก จึงเป็นที่มาของชื่อ (ดัง แปลว่า จมูก) มีขนาดประมาณ 30-40 ซ.ม.


อาหารได้แก่ หอย ไส้เดือนน้ำ กุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมขณะว่ายน้ำจะยื่นหนวดและกระดิกถี่ ๆ เพื่อเป็นการสัมผัส พบเฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น ถูกจับขึ้นมาขายครั้งละมาก ๆ ในบางฤดูกาลของจังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี เนื้อมีรสชาติดี มักบริโภคโดยการปรุงสด ดังแดง มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า " เจ๊ก "

++===========================++

  • 8.ปลาแดง
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Micronema bleekeri อยุ่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาน้ำเงิน ซึ่งอยุ่ในวงศ์เดียวกัน (Family) แต่ปากล่างยื่นน้อยกว่า ตาโต ปากกว้าง แต่ส่วนคางไม่เชิดขึ้น มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ที่มุมปากและใต้คาง ส่วนหลังไม่ยกสูง และครีบหางเว้าตื้น ฟันบนเพดานเป็นแผ่นรูปโค้ง ตัวค่อนข้างใสและมีสีเงินวาวอมแดงเรื่อ หรือมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียวที่ด้านบนลำตัว ครีบก้นสีจาง ไม่มีแถบสีคล้ำ มีขนาดลำตัวประมาณ 30 ซ.ม. พบใหญ่สุด 60 ซ.ม.


บนปลาแดง ล่างปลาน้ำเงิน

มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาน้ำเงิน (M. apogon) และอาศัยในแม่น้ำถิ่นเดียวกัน แต่พบในภาคใต้มากกว่า


มีชื่อเรียกในภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงว่า " เซือม " " นาง " หรือ " นางแดง " เป็นต้น

++===========================++

  • 9.ปลาน้ำเงิน
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kryptopterus apogon (เดิมMicronema apogon) อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างคล้ายปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีดำอมเขียว หัวแบนสั้นและตาเล็ก ปากค่อนข้างกว้าง มีฟันแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหูใหญ่ปลายมน ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว แต่ไม่มีครีบหลัง สันหลังบริเวณต้นคอสูงและลาดต่ำลงไปทางปลายหาง ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 15 - 77 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

(บนปลาน้ำเงิน ล่างปลาแดง)

อาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง เป็นต้น โดยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก และแมลงต่าง ๆ และจะชอบอาหารกลิ่นแรง เช่น แมลงสาบ เป็นที่รู้จักกันดีของนักตกปลาที่ใช้เป็นเหยื่อ


เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอดพริก ทอดกระเทียม เป็นต้น ของจังหวัดตามริมแม่น้ำ และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

เคยพบชุกชุมในธรรมชาติ ปัจจุบันพบน้อยลงเพราะการจับมากเกินไปและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่ปัจจุบันกรมประมง โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการผสมเทียม

++===========================++

  • 10.ปลาสายยู
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ceratoglanis pachynema อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด หัวเล็กมีสีแดงเรื่อ ๆ ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก คล้ายสายยูแม่กุญแจ อันเป็นที่มาของชื่อ ตาเล็กมาก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 ซ.ม. พบใหญ่สุด 40 ซ.ม.


มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง แมลงน้ำ เป็นต้น


พบเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตในธรรมชาติ (Endangered) แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักเลี้ยงปลาด้วย โดยเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกอื่นว่า " เกด "

สายยูPangasius conchophilus ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae)



ปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbedae)

อนึ่ง ชื่อสายยู นี้เป็นชื่อที่เรียกซ้ำซ้อนกับปลาในหลายชนิด (Species) หลายสกุล (Genus) เช่น ปลาในสกุล (Pangasius) ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) หรือปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ
(Schilbedae) เป็นต้น

ปลาหมอไทยไทย


  • ปลาหมอไทย
  • ชื่อสามัญ Climbing perch
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
  • ชื่อไทย ปลาหมอ เข็ง สะเด็ด อีแกบูยู
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ(labyrinth organ)อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงสามารถอยู่บนบกได้นาน ชอบปีนป่ายขึ้นมายามฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า "ปลาหมอตายเพราะปาก" ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆ จนเป็นอันตรายแก่ตนเอง


ปลาหมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาเข็ง ภาคเหนือเรียกว่า สะเด็ด ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า ปลาหมอ พบมากในแถบจีนตอนใต้ อินโดจีน ไทย มลายู พม่า อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย


รูปร่างลักษณะภายนอก

ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอด ดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ฟันค่อนข้างแหลมคม เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา ยาวประมาณ 10-15 ซม


ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ

ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง


ปลาหมอเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ และยังสามารถกิน เมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายเป็นอาหาร
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภา พันธุ์


ในตลาดสดขายประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่างจังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาดเท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และอยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน

(ต้มส้มปลาหมอ)
วิธีการกินปลาหมอแบบที่อร่อยและทำง่าย กินกันมานมนานแต่โบราณก็คือเพียงเอามาปิ้ง มาย่างทั้งเกล็ด ด้วยเตาถ่าน ใช้ไฟอ่อนๆ ไม่นานเกินรอ ก็ได้กินปลาหมอย่างร้อนๆ กินทั้งเนื้อทั้งเกล็ดก็ยิ่งอร่อย แต่อย่ากินเพลินจนก้างติดคอ เพราะปลาหมอไทยมีก้างเยอะพอๆ กับปลาตะเพียนเลยทีเดียว หรือเอาปลาหมอไปทำกับข้าวจานเด็ดอย่าง ฉู่ฉี่ปลาหมอ แกงส้มปลาหมอ ต้มส้มปลาหมอ หรือจะบั้งถี่ๆ ทอดกรอบกินทั้งเนื้อ ทั้งก้าง ก็อร่อยไปอีกแบบ

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>


  • ปลาหมอตาล
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Helostroma temmincki
  • ชื่อสามัญ Temminck's kissing
  • ชื่อไทย ปลาหมอตาล อีตาล ใบตาล วี ปลาจูบ


  • อุปนิสัย
สามารถผุดขึ้นมาอุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรงนอกเหนือจากการหายใจด้วยเหงือกตามปกติ

  • ความสำคัญ
ปลาหมอตาลเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน อยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไม่เชี่ยว เลี้ยงง่าย รสดี พบทั่วไปเฉพาะในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปลากินพืชสามารถเลี้ยงในบ่อได้ ปลาหมอตาลเผือกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ปลาอีดัน ปลาใบตาล ปลาวี ปลาจูบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าHelostoma temminckii ( เฮ-โล-สะ-โต-ม่า เทม-มิน-คิ-อาย)

  • รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้ ริมปากหนาริมฝีปากบนและล่างเท่ากัน ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบหลังและครีบก้นยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับหาง ครีบหูยาว ปลายมน ครีบท้องมีปลายเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หรือเขียวอ่อน หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ข้างลำตัวมีเส้นลายดำพาดตามยาวลำตัว ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 32.5 เซนติเมตร อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาหมอ คือ Anabantidae ( อะ-นา-แบน-ทิ-ดี้ )


ปลาหมอตาลขนาด 15 เซนติเมตรขึ้นไปจึงเห็นความแตกต่างของเพศชัดเจน ปลาตัวเมียจะมีก้านครีบอ่อนอันแรกเป็นเส้นยื่นยาวกว่าก้านครีบอันอื่นๆ ท้องนิ่มอูมป่องทั้งสองข้างก้านครีบอ่อนแรกของตัวผู้ไม่เป็นเส้นยื่นยาว เอามือลูบท้องไปทางรูก้นเบาๆจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหล ตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย ในชั่วชีวิตหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ถึง 5 ครั้ง ตามธรรมชาติปลาวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปีละครั้ง


อาหารธรรมชาติกินพรรณไม้น้ำ แมลงน้ำ


การจูบกันเองของปลาชนิดนี้นั้น เป็นการขู่ และข่มกัน ก่อนจะเกิดการต่อสู้ครับ หรือถ้าตัวไหนยอมแพ้ตั้งแต่จูบกัน ก็จะถอยไปเอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>



  • ปลาหมอช้างเหยียบ
  • ชื่อสามัญ : Striped Tiger Nandid
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pritolepis fasciatus
  • ชื่อไทย : ปลาหมอโค้ว ปลาก่า ตะกรับ โพรก หน้านวล หมอน้ำ ปาตอง


ลักษณะทั่วไป
เป็น ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) มีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ แถบนี้จะเห็นชัดขณะที่ปลายังเล็ก หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว ส่วนหน้าเป็นก้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและมีลักษณะแหลมคม ครีบหางใหญ่ ปลายหางมนกลม มีขนาดความยาว 5 - 20 เซนติเมตร


  • นิสัย : มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
  • ถิ่นอาศัย :แหล่งน้ำนิ่งในประเทศไทย และเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย พบตามลำคลอง หนอง บึงทุกภาค
  • อาหาร : ไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ

การสังเกตเพศ
  • ปลาตัวผู้จะมีปลายครีบที่ยาวและชี้แหลมกว่าตัวเมียช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์เวลารีด ท้องจะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาส่วนตัวเมียเวลารีดท้องจะมีไข่ไหลออกมา รูทวาร
  • แพร่พันธุ์ โดยวางไข่เกาะติดตามวัสดุใต้น้ำ วางไข่ครั้ง ละไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟอง ขึ้นไปจนถึงหลายหมื่นฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>



  • ปลาหมอจำปะ
ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belontia hasselti อยู่ในวงศ์ Belontiinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเหมือนปลาหมอ (Anabas testudineus) ผสมกับปลากัด (Betta splendens) แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ปลายครีบหางมน ครีบท้องเล็ก ลำตัวสีเหลืองทองหรือเหลืองคล้ำถึงน้ำตาลแดง ขอบเกล็ดสีคล้ำและที่ฐานครีบหลังตอนท้ายมีจุดสีดำ ครีบหลังและครีบก้นตอนหน้าสีคล้ำ ตอนท้ายรวมถึงครีบหางมีลายเส้นเป็นตาข่าย


มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ที่เดียวเท่านั้น ในต่างประเทศพบกระจายไปทั่วแหลมมลายูไปถึงหมู่เกาะซุนดา


ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย มีพฤติกรรมการวางไข่โดยใช้การก่อหวอดและตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่และตัวอ่อน เหมือนปลากัด ปลาตัวผู้มีครีบอกเรียวยาวและมีประแต้มบนครีบ ส่วนตัวเมียครีบจะสั้นกว่าจะไม่มีลวดลาย

(Belontia signata)

อนึ่ง ปลาในวงศ์ Belontiinae นั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น อีกชนิดหนึ่ง คือ Belontia signata (Günther, ค.ศ. 1861) พบในประเทศศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่าคือ โตเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร


  • วงศ์ปลาแค้ (ภาษาอังกฤษ Sisoridae)
เป็นปลาหนังหรือปลาไม่มีเกล็ดวงศ์หนึ่ง (Family) ในอันดับปลาหนัง ที่แตกต่างจากวงศ์อื่นคือ ส่วนหัวโต ปากกว้างมากและอยู่ด้านล่าง ผิวหนังบนหัวและตัวไม่เรียบ อาจสากหรือเป็นตุ่มนิ่มเล็กๆ บนหัวมีสันตื้นๆ ไปถึงด้านหลัง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก มีหนวด 4 คู่ หนวดที่ริมฝีปากเป็นเส้นแบนและแข็ง หนวดที่จมูกสั้น หนวดใต้คางยาว ส่วนมากที่ครีบหลังและครีบอกมีก้านแข็งแหลมคม ครีบท้องใหญ่ ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก


ในบางสกุล (Genus) เช่น Glyptopthorax มีแผ่นหนังย่นใต้อกซึ่งใช้เกาะพื้นหินได้

กินเนื้อ ตั้งแต่สัตว์หน้าดินจนถึงปลาขนาดเล็กกว่าอาศัยบริเวณพื้นน้ำ โดยหันหน้าทวนกระแสน้ำ ชอบสภาพแวดล้อมพื้นทราย น้ำสะอาดใส มีออกซิเจนสูง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะเขตร้อนของทวีปเอเชีย พบมากกว่า 50 ชนิดพบในประเทศไทยประมาณ 17 ชนิดมีขนาดแตกต่างออกไปตั้งแต่ตั้งแต่ความยาวเพียง5ซม. คือ ปลาแค้ขี้หมู (Erethistes maesotensis)ที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินไปจนถึงปลาแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli) ขนาดถึง 2 เมตรโดยชนิดที่พบบ่อยคือ แค้วัว (Bagarius bagarius) หรือแค้ธรรมดา กับ แค้ยักษ์

++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาแค้วัว
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagarius bagarius อยู่ในวงศ์ปลาแค้(Sisoridae) มีลักษณะหัวแบนราบมีด้านบนโค้งและด้านล่างเรียบ จะงอยปากยื่นยาว มองจากด้านบนจะโค้ง หนวดเป็นเส้นแข็งมีผังผืดที่ริมฝีปาก ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว มีลักษณะคล้ายตาของงูหรือจระเข้ คือ มีม่านตาดำเล็กเป็นช่องแนวตั้ง ปากกว้างมากมีฟันเป็นเขี้ยวแหลมคมอย่างสัตว์ดุร้าย

ส่วนหลังยกสูง ลำตัวแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านครีบแข็งแหลมคมเช่นเดียวกับครีบอก ที่ปลายครีบอก ครีบท้อง ครีบหลัง มีลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว โดยเฉพาะในตัวเมีย

ผิวหนังสาก บนหัวมีกระ ไม่เรียบ ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือน้ำตาลอ่อนอมเหลือง มีประด่างสีคล้ำและสีดำตลอดลำตัวด้านบนและครีบ ด้านท้องสีจาง ครีบท้องของปลาแค้วัวจะตั้งตรงอยู่แนวเดียวกับด้านท้ายของครีบหลัง เป็นปลาล่าเหยื่อ กินปลาและซากสัตว์เป็นอาหารหรือแม้กระทั่งเหยื่อปลอมของนักตกปลาก็ไม่เว้น อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ของทุกภาค พบน้อยในภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา แค้วัวมีความยาวเต็มประมาณ 30 - 40 ซม. พบใหญ่สุดไม่เกิน 70 ซม. นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย ทำเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เป็นต้น มักพบขายในร้านแม่น้ำตามภูมิภาคที่ติดริมแม่น้ำ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แค้วัว มีชื่อเรียกที่เรียกกันทั่วไปว่า " แค้ " หรือ " แค้ธรรมดา " หรือ " ตุ๊กแก " เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาแค้ยักษ์
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagarius yarrelli อยู่ในวงศ์ปลาแค้(Sisoridae) มีรูปร่างคล้ายแค้วัว (Bagarius bagarius) มากจนสังเกตได้ยาก ที่แตกต่างกันคือ ครีบท้องของแค้ยักษ์จะอยู่เยื้องด้านท้ายของครีบหลัง สีสันก็คล้ายกันมาก แต่อาจมีสีน้ำตาลเข้มหรือคล้ำกว่าในปลาตัวเต็มวัย แค้ยักษ์มีขนาดประมาณ 60 - 70 ซม. พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร

อาศัยอยู่ในสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำสาละวินจนถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้ แต่พบมากในแม่น้ำโขง เนื้อมีรสชาติดีและมีสีเหลืองอ่อนรวมถึงหนังและไขมัน ซึ่งต่างจากแค้วัวซึ่งมีเนื้อสีขาว โดยทั้ง 2 ชนิด มักถูกปรุงด้วยวิธีเดียวกัน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

แค้ยักษ์ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " แค้ควาย " หรือ " ตุ๊กแก " เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาแค้ขี้หมู
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethistes maesotensis อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีลักษณะลำตัวเล็ก ด้านท้ายเรียวและแบนข้าง หัวโต ปากมนอยู่ด้านล่าง มีหนวด 4 คู่ ตาเล็กและยกสูง ครีบหลังยกสูง ก้านครีบอกโค้งยาวและมีหยักทั้งด้านหน้าและขอบท้าย ครีบหางเว้าโค้ง ลำตัวสีเทาอมเหลืองหรือน้ำตาลและมีประสีคล้ำ ครีบใสและมีแต้มสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 2 ซ.ม. ใหญ่สุดเพียง 5 ซ.ม. นับเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์นี้ (Family)

อาศัยอยู่ตามหน้าดินและซอกหินในลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวมีพื้นเป็นโคลนปนทรายของลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวเท่านั้น โดยอาหารได้แก่ แมลงน้ำและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก

เป็นปลาที่พบน้อย แต่ก็มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาแปลก

++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาแค้งู
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagarius suchus อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีรูปร่างเหมือนปลาแค้ทั่วไป แต่มีสีลำตัวอ่อนกว่า และมีส่วนหัวแบนราบกว่า มีขนาดประมาณ 70 ซ.ม.

โดยอาหารและถิ่นที่อยู่เหมือนกับปลาแค้อีก 2 ชนิด คือ แค้วัว (Bagarius bagarius) และแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli) แต่พบในส่วนที่เป็นหน้าดินกว่า

เป็นปลาแค้ชนิดที่พบได้น้อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาสูง และมีชื่ออื่นอีกว่า " แค้หัวแบน "

++++++++++++++++++++++++++++



  • ปลาแค้ติดหินสามแถบ
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glyptopthorax trillineatus อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) เป็นปลาแค้ในสกุลปลาแค้ติดหิน (Glyptothorax) ชนิดหนึ่งที่มีลำตัวเพรียวยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีน้ำตาลหรือคล้ำอมหเลือง มีแถบสีเหลืองสดพาดลำตัวตามแนวยาวตรงกลางหลังและด้านข้างไปถึงโคนครีบ ครีบสีเหลืองและมีแต้มสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 10 - 15 ซ.ม. ใหญ่สุด 30 ซ.ม.

พบอาศัยอยู่เฉพาะลำธารและน้ำตกในระบบแม่น้ำสาละวินเท่านั้น และมีรายงานพบที่จีนด้วย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม โดยจะหันหน้าสู้กับกระแสน้ำ อาหารได้แก่ แมลงน้ำและลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก

เป็นปลาที่ไม่พบบ่อยมากนัก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่บางครั้งพบมีขายในตลาดปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกว่า " ฉลามทอง "แค้ติดหินสามแถบ มีชื่อเรียกในภาษาเหนือว่า " ก๊องแก๊ง "

++++++++++++++++++++++++++++


  • หยะเค
เป็นภาษากะเหรี่ยง ที่หมายถึงปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gagata gashawyu อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีลักษณะลำตัวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย หัวทู่ ตาใหญ่ แต่ม่านตาเล็กคล้ายตางู ปากเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังยกสูง ครีบไขมันเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีสันสดใสสวยงาม โดยมีสีฟ้า สีขาว เหลือบเหลืองทองหรือเขียวสลับกันไปทั้งตัวและมีแต้มสีคล้ำ ท้องสีจาง ครีบใส ครีบไขมันมีขอบสีคล้ำ ครีบหางมีแถบสีคล้ำ เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวกว้างประมาณ 5 ซ.ม. ยาวประมาณ 10 ซ.ม. ใหญ่สุด 13 ซ.ม. อาหารได้แก่ ไส้เดือนน้ำ แมลงน้ำขนาดเล็ก ตะไคร่น้ำ โดยมีพฤติกรรม อยู่ในบริเวณใกล้พื้นท้องน้ำ พบอาศัยอยู่ในน้ำไหลที่มีพื้นเป็นทรายหรือโคลนของลุ่มแม่น้ำสาละวินเท่า นั้น เป็นปลาที่พบได้ทุกฤดูกาล ใช้บริโภคในพื้นที่ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนานครั้งจึงจะพบในขายในตลาดปลาสวยงาม และเป็นชนิดที่เลี้ยงยาก เพราะต้องอาศัยอยู่ในน้ำไหลแรงและสะอาดมีปริมาณอ็อกซิเจนละลายในน้ำสูง เหมือนปลาแค้ขี้หมู หยะเค หรือ หยะคุย หรือ ยะคุย เป็นภาษาของชาวกะเหรี่ยง ใช้เรียกปลาในตระกูลปลาแค้โดยไม่แยกชนิด โดยที่คำว่า " หยะ " หรือ " ยะ " แปลว่า ปลา

++++++++++++++++++++++++++++


วงศ์ปลากด(Bagridae)
เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุด เป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบน"ขากรรไกร">ขากรรไกรและ เพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง ปลา กุ้ง ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า naked catfish หรือ bagrid catfish

+++++++++++++++++++++++++++++


  • วงศ์ปลากด(Bagridae)
เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุด เป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบน"ขากรรไกร">ขากรรไกรและ เพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง ปลา กุ้ง ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า naked catfish หรือ bagrid catfish

+++++++++++++++++++++++++++++



  • 1. ปลากดคัง
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrones wyckioides(เดิมMystus wyckioides) อยู่ใน "วงศ์ปลากด">วงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 ก.ก. แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 ซม. ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง

ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" กดหางแดง กดข้างหม้อ เป็นต้น


ปลากดคังเป็นปลาที่มีลักษณรูปร่าง ยาวเพรียว ส่วนหัวแบนกว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ลำตัวด้านบนมีสีม่วงเทาปนดำ ส่วนท้องขาว ปากกว้าง จงอยปากทู่ ตำแหน่งของปากตั้งอยู่ต่ำ ฟันคม ตาไม่มีเยื่อหุ้ม และอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก มีหนวด 4 คู่ คือหนวดที่จมูกค่อนข้างสั้น ยาวถึงกึ่งกลางตาเท่านั้น หนวดที่ขากรรไกรยาวเลยครีบหลังเกือบถึงครีบไขมัน โคนหนวดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่าคู่อื่นอย่างเห็นได้ชัด หนวดใต้คาง และหนวดที่ขากรรไกรล่างยาวถึงฐานครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 7-8 ก้าน ก้านครีบแข็งอันแรกของครีบหลังทางส่วนครึ่งล่างของโคนก้านแข็ง มีเงี่ยงแหลมคม แต่ทางส่วนครึ่งบนอ่อน ทำให้ไม่สามารถทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์อื่นได้ ครีบอกประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 8-9 ก้าน ครีบท้องประกอบด้วย ก้านครีบอ่อน 6 ก้าน ครีบก้นประกอบด้วยก้าน ครีบอ่อน 10-11 ก้าน มีซี่กรองเหงือก จำนวน 12 ก้าน ครีบหูมีสีเทาดำ ครีบหางเว้าลึก แฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง ครีบหางมีสีแดงเข้มมากกว่าครีบอื่น ๆ ส่วนหน้าของครีบท้องและครีบก้นมีสีขาวปนเหลือง ปลายครีบสีแดง ครีบไขมันมีสีเข้มออกม่วงอมดำ



ปลากดคังจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้ในธรรมชาติส่วน ใหญ่พบปลาขนาดตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัม ความยาว 30-50 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีขนาดความยาวถึง 150 เซนติเมตร น้ำหนัก 30 กิโลกรัม และเคยมีผู้พบปลาขนาดน้ำหนักสูงสุด 70 กิโลกรัม

+++++++++++++++++++++++++++++


  • 2.ปลากดคังสาละวิน
ปลาหนังชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus micropthalmus อยู่ในวงศ์ปลากด(Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดเหลือง (Hemibagrus filamentus) และปลากดคัง (Hemibagrus wyckioides) มาก แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า และยื่นยาวกว่า ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังเป็นก้านแข็ง ปากกว้าง มีหนวดที่ริมฝีปากยาวมากถึงบริเวณครีบก้น ตาเล็กมาก


ส่วนหัวมองจากด้านบน ค่อนข้างกว้าง ครีบไขมันยาว ครีบหางใหญ่ และเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวมะกอก ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหางสีคล้ำ ขนาดใหญ่สุดถึง 1 เมตร พบทั่วไป 60 – 70 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย และดำน้ำยิงด้วยฉมวก อาศัยในแม่น้ำและลำธารที่ค่อนข้างลึก พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวินและสาขา และถูกจับขึ้นขายเป็นครั้งคราวใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นปลาที่มีรสชาติดี เช่นเดียวกับปลากดขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา ในต่างประเทศพบในอินเดียและพม่าในแม่น้ำอิระวดี

+++++++++++++++++++++++++++++



  • 3.ปลากดเหลือง
เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus(เดิม Mystus nemurus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง แต่มีรูปร่างเล็กกว่า

สีข้างลำตัวเป็นสีเหลือง จึงเป็นที่ของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 ซ.ม.

พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง" "ปลากดนา" "ปลากดขาว" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น
ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง ของHemibagrus filamentusกับHemibagrus nemurus

ครีบหลังยาวถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมันคือปลากดเหลือง Hemibagrus filamentus

ถ้าครีบหลังไม่ถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมันก็เป็นปลากดเหลือง Hemibagrus nemurusครับ ขอบคุณน้าจิรชัยจากเวปสยามฟิชชิ่งที่ให้ความรู้วิธีการแยก 2 ชนิดนี้ครับ

+++++++++++++++++++++++++++++


  • 4.ปลากดหม้อ
เป็นชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii (เดิม Mystus wyckii) มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน

มีขนาดประมาณ 30 ซ.ม. ใหญ่สุด 70 ซ.ม. พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น ปลากดดำ, ปลาสิงห์ดำ, ปลากดหางดอก

ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ"มรกตดำ"แต่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย

+++++++++++++++++++++++++++++



  • 5.ปลากดหัวเสียม
เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sperata acicularis(อดีตAoriichthys seenghala)
ในวงศ์ปลากด(Bagridae)มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ

ขนาดพบใหญ่สุดถึง 1 เมตร ขนาดที่พบทั่วไป 50 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวิน และสาขาและแม่น้ำตะนาวศรีในพม่า นิยมบริโภคในท้องถิ่นโดยปรุงสด มักถูกจับขึ้นขายในท้องตลาดของ จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นครั้งคราว

เนื้อมีรสชาติดีพบมีการทำรังวางไข่โดยขุดแอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1เมตร และเลี้ยงลูกอ่อนถึงขนาด3–4 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า แต่ตัวผู้หรือตัวเมียเป็นผู้เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด รังที่พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ในเดือนเมษายน ที่แม่น้ำปายมีพื้นเป็นทรายปนโคลนมีกรวดปนและใกล้กับกองหิน

นอกจากนี้แล้วกดหัวเสียมยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า " แก๊ด "

+++++++++++++++++++++++++++++


  • 6.ปลาดุกมูน
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus (อดีตBagrichthys macropterus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุด 30 ซ.ม.

พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำโขง มีพฤติกรรมมักหากินบริเวณท้องน้ำที่มีน้ำขุ่น นิยมยริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีราคาสูง

ดุกมูน ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า "ปลาแขยงหนู" "ปลาแขยงหมู" "ปลากดหมู" หรือ "ปลาแขยงดาน" เป็นต้น

วงศ์ปลากราย(Notopteridae)


  • วงศ์ปลากราย (ภาษาอังกฤษ Notopteridae)
เป็นปลาที่อยู่ในอันดับ (Order) Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล (Genus) 8 ชนิด (Species) ปลาในอันดับนี้ เช่น ปลาตะพัดเป็นต้น พบในประเทศไทย 4 ชนิด คือ ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ และปลาสลาด โดยในไทยมักจะเรียกปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ว่า ปลาตอง รวมกันหมด เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ (Cycloid) และมีขนาดเล็กละเอียด กินเนื้อ เมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน

++++++++++++++++++++++++++++++++




  • ปลากราย
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata (เดิม Notopterus chitala)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.



มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กพบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน

และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือสีทอง ขาว (Platinum) หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีชื่อเรียกอื่น เช่น " หางแพน " ในภาษากลาง " ตอง " ในภาษาอีสาน " ตองดาว " ในภาษาเหนือ เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++++



  • ปลาตองลาย
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci (เดิม Notopterus blanci)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 ซ.ม. ใหญ่สุด 1 เมตร



พบเฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น

เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาสะตือ
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis (เดิม Notopterus borneensis)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลากราย แต่ท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิด (Species) ที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้

นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย บอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น " ตองเเหล่ " ในภาษาอีสาน " สือ " ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า " ตือ " เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาสลาด
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากรายวัยอ่อน มีขนาดประมาณ 20 - 30 ซ.ม.


จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดในสกุลนี้ (Genus) พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทน เนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้

นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก (Albino)


ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น " ตอง " " ฉลาด " หรือ " ตองนา " เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น