วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

วงศ์ปิรันยา

ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจาระเม็ดน้ำจืด (อังกฤษ: Pacu) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา

ปลาเปคูมีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาเปคูนั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาเปคูจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว

อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาเปคูแม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด[1][2]

ปลาเปคูมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้o

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลก[4]รวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย[5] ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่

สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาเปคูที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้ว

ปิรันยา (อังกฤษ: Piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Serrasalmidae ในวงศ์ปลาคาราซิน (Caracidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprionด้วย ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม

ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า "หมายถึงห้ามนำเข้าตัวที่ยังมีชีวิต " เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ส่วนประเทศไทย ถ้านำเข้ามาในรูปอาหารแช่แข็ง เช่น ปลาปิรันยาแช่แข็ง เพื่อนำมาบริโภคอย่างเช่น ร้านอาหารภัตตาคารหรูในประเทศไทย ถ้าสามารถนำเข้ามาได้ไม่ผิดกฏหมาย

แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า(Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด

ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น